สถานการณ์และปัญหา
อาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหรับมนุษย์ มนุษย์จำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อความเจริญเติบโต ความอยู่รอดและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น อาหารที่มนุษย์บริโภค ควรเป็นอาหารที่ปลอดภัย ไม่มีสิ่งปนเปื้อนที่จะทำให้เกิดอันตราย ซึ่งความปลอดภัยของอาหารนั้น ต้องเริ่มตั้งแต่ กระบวนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต การคัดเลือกวัตถุดิบ การขนส่งวัตถุดิบ การประกอบอาหาร การขนส่งอาหาร จึงต้องมีการควบคุมตรวจสอบความปลอดภัยในทุกกระบวนการ เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค จากกรอบยุทธศาสตร์ด้านการจัดการอาหารประเทศไทย โดยคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ (2556) ได้กล่าวว่า ข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การเกษตรและอาหาร แห่งสหประชาชาติ (FAO) (1983) พบสาเหตุส่วนใหญ่ของการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหาร ว่าเกิดจากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมี เช่น สารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช ยาปฏิชีวนะและยาที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ วัตถุเจือปนอาหาร รวมไปถึง สารพิษจากจุลินทรีย์ และ สารเคมีปนเปื้อนจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของ ผู้บริโภคแล้วยังส่งผลต่องบประมาณ และเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งยังกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งประเทศ การเลือกบริโภคอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพดี โรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่มีประชาชนใช้บริการเป็นจำนวนมาก มีความต้องการใช้วัตถุดิบ ในการประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วย และมีร้านอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการทั่วไป จากสถิติของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาล ชุมชน) รวม 896 แห่ง มีผู้ป่วยนอก 45.5 ล้านคน/184.1 ล้านครั้ง และผู้ป่วยใน 9.9 ล้านคน/ 38.5 ล้านวันนอนโรงพยาบาล ญาติและบุคคลทั่วไปประมาณ 2 เท่าจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกต่อปี และบุคลากรสาธารณสุขมากกว่า 5 แสนคน ซึ่งผู้ป่วยในเหล่านี้ต้องได้รับอาหารจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยนอกและผู้รับบริการต้องซื้ออาหารจากร้านอาหารภายในโรงพยาบาล โรงพยาบาลจึงจำเป็น จะต้องผลิตอาหารที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและผู้มารับบริการ เพื่อไม่ให้ได้รับสารพิษ หรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อนซึ่งจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ป่วยหรืออาจจะกระทบต่ออาการการป่วยที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย กระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ไม่มี สารเคมีอันตรายตกค้าง จึงส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย เพื่อมุ่งหวังให้ผู้รับบริการภายในโรงพยาบาลได้บริโภคอาหารที่สะอาด ลดอัตราการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด เป็นต้นแบบในการจัดเมนูอาหารสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน ชุมชน สังคมและประเทศ มีภูมิคุ้มกันและศักยภาพในการสกัดกั้นภัยคุกคามสุขภาพจากโรควิถีชีวิต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินการด้านอาหารปลอดภัย
2. เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และกระตุ้นให้ประชาชนเลือกบริโภคอาหารและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ลดปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดโรควิถีชีวิต
3. เพื่อเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ให้แก่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป
เอกสารแนบ |
1. แผนทดสอบ |